วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การนั่งสมาิธิ



เริ่มจากท่านั่งก่อนนะครับ หากใครสามารถนั่งสมาธิเพชรซึ่งเป็นท่าที่พระพุทธเจ้าใช้นั้นจะช่วยให้ดำรงกายอยู่ได้ดีมากนะครับ ตามรูปด้านล่าง สำหรับการนั่งสมาธิก็มีไฟล์เสียงแนะนำด้านล่างเช่นกันครับ ขอให้ทุกท่านได้ความสงบจากการปฏิบัตินะครับ (คล็ดลับผู้เริ่มต้น แนะนำนั่งครั้งละ 5 นาทีก่อนเป็นเวลาเริ่มต้นครับ ทำทุกวันโดยอาจเลือกเป็นเช้า หรือ ก่อนนอน และค่อยเพิ่มเวลาขึ้นครับ สำคัญคือต้องทำทุกวัน ให้สม่ำเสมอครับ



 การปูพื้นฐานสมาธิ click ฟังไฟล์เสียงที่รูป
 
























ทาน ศีล ภาวนา (ผลของการปฏิบัติ)


วิธีการสร้างบุญบารมี click ฟังไฟล์เสียงที่รูป

การสร้างบุญบารมีจะสร้างอย่างไรให้เป็นการลงทุนน้อยที่สุดแต่ได้คุณค่ามากที่สุด
ในพระุพุทธศาสนามี 3 ลักษณะคือ การให้ทาน การถือศีล การภาวนา 
จะทำอย่างไรให้ได้บุญบารมีมากที่สุด

สถานที่ปฏิบัติธรรม



40 สถานที่ปฏิบัติกรรมฐานยอดนิยม

๑. วัดธรรมมงคล
ซอยปุณณวิถี ๒๐ ถ. สุขุมวิท ๑๐๑ บางจาก พระโขนง กรุงเทพฯ
โทร. ๗๔๑-๗๘๒๑-๒, ๓๓๒-๒๘๒๖-๗
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร
แนวการปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
สถานที่ปฏิบัติมีหลายแห่ง คือ ๑. ศาลาปฏิบัติธรรม เป็นห้องมุ้งลวด
๒. ถ้ำวิปัสสนา (จำลอง) ๓. ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ มี ๘๐ ห้องพัก
ทุกห้องมีเครื่องปรับอากาศ ๔. ห้องสำหรับทำสมาธิ
๕. สถานปฏิบัติธรรม จ. เชียงราย ๖. สำนักสงฆ์น้ำตกแม่กลาง

๒. วัดอัมพวัน
๕๓ บ. อัมพวัน ถ. เอเชีย กม. ๑๓๐ หมู่ที่ ๔ ต. พรหมบุรี อ. พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
โทร. (๐๓๖) ๕๙๙-๓๘๑), (๐๓๖) ๕๙๙-๑๗๕
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ บริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”

๓. ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

๕๘/๘ ถ.เพชรเกษม ๕๔ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ๑๐๑๖๐
โทร. ๔๑๓-๑๗๐๖, ๘๐๕-๐๗๙๐-๔
วิปัสสนาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย
แนวการปฏิบัติ แนวสติปัฏฐาน ๔ เจริญสติอย่างต่อเนื่อง
ตามแนวพระธีรราชมหามุนี วัดมหาธาตุ
สถานที่เป็นตึกทันใหม่ทันสมัยหลายหลัง โดยทั่วไปการอบรมใช้เวลา ๘ วัน ๗ คืน

๔. สวนโมกขพลาราม
๖๘ หมู่ ๖ ต. เลเม็ด อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี ๘๔๑๑๐
วิปัสสนาจารย์ ท่านพุทธทาสภิกขุ
แนวการปฏิบัติ อานาปานสติภาวนา

๕. วัดป่าสุนันทวราราม
บ้านลิ่นถิ่น ต. ท่าเตียน อ. ไทรโยค จ. กาญจนบุรี
วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
แนวการปฏิบัติ อานาปานสติภาวนา
เปิดอบรม “อานาปานสติภาวนา” แก่ผู้สนใจ ครั้งละ ๙ วัน
เปิดรับครั้งละ ๑๐๐-๑๕๐ คน เป็นการปฏิบัติที่เคร่งครัด กินอาหารวันละ ๑ มื้อ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คุณดารณี บุญช่วย (๐๒) ๓๒๑-๖๓๒๐

๖. วัดภูหล่น
๙ ต. สงยาง อ. ศรีเมืองใหม่ จ. อุบลราชธานี
ปฐมวิปัสสนาหลวงปู่มั่นฯ (สถานที่หลวงปู่มั่นออกธุดงค์ครั้งแรกกับหลวงปู่เสาร์)
วัดนี้ค่อนข้างจะห่างจากตัวเมือง บรรยากาศดีมาก เย็นสบาย และเงียบสงบ
มีสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บนเขาไม่สูงนักสามารถกางกลดอยู่ได้
มีโบสถ์บนเขาและมีกุฏิโดยรอบ บ้างก็ซ่อนอยู่ตามซอกเขา
ที่นี่เหมาะกับผู้เคยปฏิบัติธรรมมาแล้ว ต้องการมาปฏิบัติขั้นอุกฤษฎ์

๗. วัดถ้ำขาม
บ้านคำข่า หมู่ที่ ๔ ตำบาลไร่ อ. พรรณานิคม จ. สกลนคร
วิปัสสนาจารย์ อาจารย์ฝั้น อาจาโร
วัดมีเนื้อที่ ๘๔๐ ไร่ พื้นที่จรดเขตอุทยานป่าแนวเทือกเขาภูพาน วัดอยู่บนเขาสูง
แต่ก็มีบันไดขึ้นลงสะดวก มีลิงป่า และไก่ป่า
ที่พัก มีที่พักเป็นกุฏิ (กุฏิละ ๑ คน) หรือพักรวมบนศาลาก็ได้
เหมาะสำหรับไปปฏิบัติแบบอุกฤษฎ์

๘. วัดมเหยงคณ์
ต. หันตรา อ. พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา
แนวปฏิบัติ เดินจงกรม นั่งสมาธิ กำหนดรู้ รูป-นาม

๙. สำนักปฏิบัติธรรมแสงธรรมส่องชีวิต
ต. โคกแย้ อ. หนองแค จ. สระบุรี ๑๘๒๓๐
โทร. (๐๓๖) ๓๗๙-๔๒๘
แนวปฏิบัติ เน้นให้ผู้ฝึกมีสติรู้ในอิริยาบท
ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันสำคัญทางศาสนา
จะมีการจัดอบรมฝึกวิปัสสนากรรมฐาน บวชชีพราหมณ์ เนกขัมมะ

๑๐. วัดสนามใน
๒๗ ต. วัดชลอ อ. บางกรวย จ. นนทบุรี
โทร. ๔๒๙-๒๑๑๙, ๘๘๓-๗๒๕๑
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อเทียน จิตตฺสุโภ
แนวปฏิบัติ เน้นการเจริญสติ วิธีที่เป็นที่นิยมคือวิธีสร้างจังหวะ
เป็นวิธีสร้างสติแบบนั่งทำสมาธิแต่ไม่ต้องหลับตา

๑๑. วัดป่านานาชาติ
บ้านบุ่งหวาย หมู่ ๗ ต. บุ่งหวาย อ. วารินชำราบ จ. อุบลราชธานี
(สาขา ๑๑๙ ของวัดหนองป่าพง)
เป็นวัดป่าที่มีต้นไม้ใหญ่มาก มียุงและแมลงต่าง ๆ มาก
คนที่แพ้ยุงก็ควรหายากันยุงไปด้วย อากาศเย็นสบาย ทานอาหารวันละ ๑ มื้อ
การไป ให้เขียนจดหมายไปขออนุญาตจากเจ้าอาวาส แล้วจึงเดินทางไปอยู่

๑๒. วัดปทุมวนาราม
ถ. พระราม ๑ ปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐
โทร. ๒๕๑-๒๓๑๕, ๒๕๒-๕๔๖๕
วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์ถาวร จิตฺตถาวโร
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
นั่งปฏิบัติในศาลาพระราชศรัทธา มีอาสนะและผ้าคลุมตักให้หยิบใช้ได้
บริเวณโดยรอบมีการปลูกแต่งด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย ร่มรื่นสวยงาม
กำหนดการปฏิบัติธรรมที่ศาลาฯ ประจำวันจันทร์ – ศุกร์ วันละ ๓ เวลา
เช้า ๗.๐๐ – ๘.๐๐ น. กลางวัน ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. เย็น ๑๗.๐๐ – ๒๐.๐๐ น.

๑๓. วัดปากน้ำภาษีเจริญ
เลขที่ ๘ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
วิปัสสนาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด)
แนวปฏิบัติ ตามแนวธรรมกาย ใช้คำบริกรรม “สัมมาอรหัง”
สถานที่ปฏิบัติ ๑. หอเจริญวิปัสสนาฯ ชั้น ๒ เป็นห้องแอร์ปูพรม
๒. หอสังเวชนีย์มงคลเทพนิมิต ๓. ตึกบวรเทพมุนี

๑๔. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์
เลขที่ ๓ ท่าพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ
แนวปฏิบัติ ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
สถานที่ปฏิบัติ คณะ ๕ สำนักงานกลาง กองการวิปัสสนาธุระ
เปิดทุกวัน สอนเดินจงกรมและนั่งสมาธิ
เช้า ๐๗.๐๐ – ๑๐.๐๐ น. กลางวัน ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. เย็น ๑๘.๐๐ – ๑๙.๐๐ น.

๑๕. วัดอินทรวิหาร
อาคารปฏิบัติธรรม “เฉลิมพระเกียรติ” วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม
กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๖๒๘-๕๕๕๐-๒
แนวการปฏิบัติ แนวหลักสูตรของคุณแม่สิริ กรินชัย ๘ วัน ๗ คืน หรือ ๔ วัน ๓ คืน
เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมขยายผล จากผู้ปฏิบัติธรรมกับคุณแม่สิริ กรินชัย
เป็นอาคารทันสมัย ๕ ชั้น จุได้ประมาณ ๕๐๐ คน

๑๖. สำนักงานพุทธมณฑล
พุทธมณฑล ถ. พุทธมณฑลสาย ๔ ต. ศาลายา อ. พุทธมณฑล จ. นครปฐม
โทร. ๔๔๑-๙๐๐๙, ๔๔๑-๙๐๑๒
แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ กำหนดรู้อารมณ์ บริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
สถานที่ปฏิบัติ ชั้น ๒ ของหอประชุม มีเครื่องปรับอากาศ ห้องนอน
มีเครื่องนอน เช่น หมอน มุ้ง ผ้าห่มให้พร้อม หรือนำไปเองก็ได้ ทานอาหาร ๒ มื้อ

๑๗. ศูนย์วิปัสสนายุวพุทธฯ เฉลิมพระเกียรติ
คลองสาม จ. ปทุมธานี โทร. ๙๘๖-๖๔๐๔-๕
เป็นสาขาของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย – ภาษีเจริญ

๑๘. วัดอโศการาม
๑๓๖ หมู่ ๒ กม. ๓๑ ถ. สุขุมวิท (สายเก่า) ต. ท้ายบ้าน อ. เมือง จ. สมุทรปราการ
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อลี ธมฺมชโช
บริเวณกว้างขวาง มีสระน้ำใหญ่ในบริเวณวัด
กุฏิพระ แม่ชี และที่พักแยกเป็นสัดส่วนเรียงรายรอบวัดเป็นร้อย ๆ หลัง
ส่วนมากอยู่ติดริมทะเลซึ่งเป็นป่าชายเลน

๑๙. วัดญาณสังวรารามวรวิหาร
ต. ห้วยใหญ่ อ. บางละมุง จ. ชลบุรี โทร. (๐๓๘) ๒๓๗-๖๔๒
สถานที่ปฏิบัติ เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น มีอาคาร ญส. ๗๒ ชาย และ ญส. ๗๒ หญิง
ชั้นละ ๑๐ ห้อง มีห้องน้ำในตัว เรือนปฏิบัติธรรมมี ๑๗ หลัง

๒๐. สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม
ซ. ประชานุกูล ๗ ถ. ชลบุรี-บ้านบึง ต. บ้านสวน อ. เมือง จ. ชลบุรี
โทร (๐๓๘) ๒๘๓-๗๖๖
วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภมหาเถระ
แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
มีเรือนพักปฏิบัติธรรมทั้งหญิงชายแยกเป็นสัดส่วนอยู่จำนวนมาก
การอยู่ปฏิบัติให้พักคนเดียว เน้นการเก็บอารมณ์ ไม่พูดคุยกัน อย่างเคร่งครัด
การรับประทานอาหารจะมีปิ่นโตส่งถึงห้อง ๒ มื้อ
ทุกวันจะมีการสอบอารมณ์กรรมฐานโดยพระอาจารย์
ค่าน้ำไฟ อาหาร วันละ ๕๐ บาท หรือเดือนละ ๑,๕๐๐ บาท ห้ามอยู่เกิน ๙๐ วัน

๒๑. สำนักวิปัสสนาสมมิตร – ปราณี
จ. ชลบุรี โทร. พระอาจารย์ใหญ่ (๐๑) ๙๒๑-๑๑๐๑
เป็นสถานที่ซึ่งมีผู้บริจาคเพื่อขยับขยายมาจากวิเวกอาศรม
แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
สถานที่ล้อมรอบด้วยทุ่งและธรรมชาติ มีกุฏิสงฆ์สร้างในแบบธรรมชาติมุงจาก
อาคารปฏิบัติธรรมขนาดกลางและอุโบสถ ยังรับผู้ปฏิบัติธรรมได้ไม่มากนัก

๒๒. วัดเขาสุกิม
ต. เขาบายศรี อ. ท่าใหม่ จ. จันบุรี
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ใช้คำบริกรรม “พุทโธ”
วัดตั้งอยู่สูงขึ้นไปบนเชิงเขา กว้างขวางกว่า ๓,๒๘๐ ไร่
มีทางบันได และรถรางขึ้นไปบนวัด บริเวณร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย
มีศาลาที่พักที่สะดวกสบาย เป็นห้องมุ้งลวด มีเตียง ที่นอน หมอนให้
หรือพักที่กุฏิว่างต่าง ๆ

๒๓. วัดจันทาราม (วัดท่าซุง)
๖๐ บ้านท่าซุง หมู่ ๑ ต. น้ำซึม อ. เมือง จ. อุทัยธานี
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
แนวปฏิบัติ มโนมยิทธิ บริกรรม “นะ มะ พะ ธะ” และสอนอนุสติ บริกรรม “พุทโธ”

๒๔. สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง
อ. เชียงดาว จ. เชียงใหม่
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่สิม พุทธจาโร
สำนักสงฆ์แห่งนี้อยู่บนดอย ทางขึ้นลงเทปูนเป็นบันไดเดินได้สะดวกแต่ค่อนข้างสูง
หลวงปู่เคยเล่าไว้ว่าที่ถ้ำผาปล่อง และถ้ำเชียงดาวนี้ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
ให้สำรวมระวัง รักษาความสงบ ไม่ร้องรำทำเพลง เล่นตลกคะนอง
เพราะเคยมีพระอรหันต์ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้ากกุสันโธ
พระอรหันต์สมัยพระพุทธเจ้าโกนาคม พระอรหันต์สมัยพระกัสสโป
และพระอรหันต์สมัยพระพุทธโคดม มาบำเพ็ญเพียรและละสังขารอยู่หลายองค์
การนั่งภาวนาที่นี่จะทำเหมือนสมัยที่หลวงปู่ยังอยู่ คือ
ท่านจะให้ทุกคนที่ไปภาวนานั่งสมาธิเพชรฟังเทศน์ ด้วยเหตุผลว่า
”การนั่งสมาธิเพชรนั้นเป็นการฝึกฝนคนเราให้เกิดความตั้งใจมั่น”

๒๕. วัดป่าสาละวัน
อ. เมือง จ. นครราชสีมา
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
วันที่ ๑-๕ ของทุกเดือน จะมีการอบรมการปฏิบัติแก่อุบาสกอุบาสิกา
ที่ใต้ศาลา และบนวิหารชั้น ๒ โดยจะมีพระให้การอบรม

๒๖. วัดสมเด็จแดนสงบ (แสงธรรมเวฬุราราม)
๙๙ ซอย ๑๙ ถ. มิตรภาพ อ. เมือง จ. นครราชสีมา ๓๐๐๐๐
โทร. (๐๔๔) ๒๑๔-๑๓๔, ๒๑๔-๘๖๙-๗๐
วิปัสสนาจารย์ พระครูภาวนาวิสิฐ
แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔

๒๗. วัดป่าวะภูแก้ว
ต. มะเกลือใหม่ อ. สูงเนิน จ. นครราชสีมา
แนวปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์ - หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
วัดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ มีต้นไม้ใหญ่น้อยมาก สถานที่เงียบสงบ สวยงาม
มีอาคารอบรมขนาดใหญ่ สำหรับผู้มาทำสมาธิเป็นหมู่คณะ

๒๘. วัดหนองป่าพง
๔๖ หมู่ ๑๐ ต. โนนผึ้ง อ. วารินชำราบ จ. อุบลราชธานี
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
แนวปฏิบัติ เน้นให้มีสติสม่ำเสมอ ฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ

๒๙. ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน
บ้านเนินทาง ต. บ้านค้อ อ. เมือง จ. ขอนแก่น ๔๐๐๐๐
โทร. (๐๔๓) ๒๓๗-๗๘๖, ๑๒๗-๗๙๐
เป็นสถานปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสาขา ของหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน
แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ เช่นเดียวกับวัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี

๓๐. วัดป่าวิเวกธรรมวิทยาราม
ซ. ศรีจันทร์ ๑๓ ถ. ศรีจันทร์ ต. ในเมือง อ. เมือง จ. ขอนแก่น ๔๐๐๐๐
โทร. (๐๔๓) ๒๒๒-๐๔๒
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”

๓๑. วัดถ้ำผาบิ้ง
ต. ทรายขาว อ. วังสะพุง จ. เลย
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่หลุย จันทสาโร
เมื่อไปถึงจะพบศาลาสร้างด้วยไม้ที่โปร่งสะอาดน่านั่งสมาธิ มีกุฏิหลายหลัง
มีถ้ำอยู่ไม่สูงจากเชิงเขา มีบันได้ขึ้นสะดวก เป็นที่สงบวิเวกมาก
เหมาะแก่การปฏิบัติอย่างอุกฤษฎ์ พระในสายพระอาจารย์มั่นมักมากจำพรรษา
และปฏิบัติธรรมที่นี่ เพราะเป็นที่สัปปายะ บรรยากาศเงียบสงบ ห่างจากเมือง

๓๒. วัดถ้ำกองเพล
ต. โนนทัน อ. เมือง จ. หนองบัวลำภู ๓๙๐๐๐
โทร. (๐๔๒) ๓๑๒-๓๗๗
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่ขาว อนาลโย
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
เป็นวัดป่ากว้างขวาง พร้อมศาลาปฏิบัติธรรมสร้างภายในถ้ำ
ทางไปถ้ำสะดวกอยู่ริมถนน รถเข้าถึงปากถ้ำได้ ไม่ต้องปีน
บางกุฏิก็ซ่อนอยู่ตามเหลือบผาต่าง ๆ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม
เมื่อไปถึงให้ติดต่อศาลาประชาสัมพันธ์เพื่อขออนุญาตก่อน ปฏิบัติธรรมอย่างเข้ม

๓๓. วัดป่าบ้านตาด
ต. บ้านตาด อ. เมือง จ. อุดรธานี
วิปัสสนาจารย์ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
ในวัดมีกุฏิที่พักหลายกุฏิ มักจะมีลูกศิษย์มาอยู่ปฏิบัติกันมาก
แต่ผู้มาปฏิบัติที่นี่ต้องกินน้อย นอนน้อย ปฏิบัติมาก
กลางคืนมักจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ จนดึก หรือโต้รุ่งก็มี
ไม่ใช้ไฟฟ้าในตอนกลางคืน ผู้ปฏิบัติจึงควรจำไฟฉายหรือเทียนติดตัวไปด้วย
เพื่อใช้ส่องทางเดิน ทางจงกรม ซึ่งมักจะเป็นทางดิน
และอาจมีสัตว์ เช่น งู อยู่บ้าง ต้องเจริญเมตตาไม่เบียดเบียนต่อกัน

๓๔. วัดหินหมากเป้ง
บ้านไทยเจริญ หมู่ ๔ ต. พระพุทธบาท อ. ศรีเชียงใหม่ จ. หนองคาย
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
ในวัดมีกุฏิเรือนรับรองอยู่มาก บริเวณกว้างขวาง ประกอบด้วยป่าโปร่ง ป่าไผ่
ทะเลสาบใหญ่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง เหมาะแก่การอยู่ปฏิบัติ

๓๕. วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก)
อ. บึงกาฬ จ. หนองคาย
วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
วัดตั้งอยู่บนภูทอก ทางขึ้นค่อนข้างชัน
สร้างด้วยความอัศจรรย์และด้วยจิตที่เด็ดเดี่ยวของพระเณร
ท่านพระอาจารย์จวนได้ทำทางขึ้นเป็นขั้นบันไดและทางเดินด้วยไม้รอบภูจนถึงยอด
บริเวณหน้าผา ท่านใช้ไม้ ๒ ลำมัดให้แน่นยื่นออกไป ๔ เมตร
เอาเชือกบังสุกุลผูกปลายไม้ที่ยื่นออกไป ตรึงใส่เสาที่ปักไว้ แล้วไปนั่งที่ปลายไม้นั้น
เพื่อตอกหินเจาะหลุมที่หน้าผา ปรากฏว่า ถ้าให้ฆราวาสไปนั่งปลายไม้ครั้งใด
ก็ไม่สามารถควบคุมสติสมาธิได้ เพราะมองไปข้างบ่างก็เกิดความหวั่นไหว
จนไม่สามารถตอกหินได้สำเร็จ ผู้สร้างจึงเป็นพระและเณร สิ่งปลูกสร้างนี้มี ๗ ชั้น
มีกุฏิที่พักเชิงเขาที่ชั้น ๒ หรือจะพักกุฏิว่างรอบเขาก็ได้ (ต้องขออนุญาตก่อน)
เหมาะกับผู้ปฏิบัติที่ฝึกมาดีพอสมควร มีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้
เนื่องจากเปลี่ยวและสูงอยู่บนภูเขา แต่บรรยากาศเย็นสบาย เงียบสงบ

๓๖. วัดดอยธรรมเจดีย์
บ้านทาสีนวล หมู่ ๓ ต. ตองโขบ อ. ศรีสุพรรณ จ. สกลนคร
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
ปกติจะปฏิบัติที่ศาลา ส่วนที่พักมีกุฏิ และอาคารคึกสะอาดทันสมัย

๓๗. วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม
ถนน รพช หมู่ ๑ ต. ปทุมวาปี อ. ส่องดาว จ. สกลนคร
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภาวนา “พุทโธ”
ที่นี่มีหลายถ้ำ มีถ้ำหนึ่งชื่อถ้ำพวง ซึ่งพระอาจารย์มั่นเคยเล่าให้ฟังว่า
เป็นถ้ำที่ศักดิ์สิทธิ์มาก เคยมีพระอรหันต์ชื่อ พระนรสีห์ มานิพพานที่นี่

๓๘. วัดป่าสุทธาวาส
๑๓๙๖ บ้านคำสะอาด หมู่ ๑๐ ต. ธาตุเชิงชุม อ. เมือง จ. สกลนคร
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
มีอาคารเป็นตึกปูน ๓ ชั้นหลังใหญ่ จุคนได้หลายร้อยคน เย็นสบาย

๓๙. วัดคำประมง
เลขที่ ๒๐ หมู่ ๔ บ้านคำประมง ต. สว่าง
อ. พรรณนานิคม จ. สกลนคร ๔๗๑๓๐
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่สิม พุทธจาโร
เนื่องจากเป็นวัดที่มีพระจำพรรษาอยู่น้อยในฤดูนอกพรรษา จึงเงียบสงบ
มีเจ้าหน้าที่ตัดหญ้า ปลูกดอกไม้สวยงามอย่างดี
มีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ และสิ่งก่อสร้างสวยงาม มีสระน้ำทะเลสาบใหญ่
ฝูงปลามากมาย มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมและให้อาหารปลาอยู่เสมอ

๔๐. สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม (ถ้ำชี)
เขากิ่ว ต. ไร้ส้ม อ. เมือง จ. เพชรบุรี ๗๖๐๐๐
โทร. (๐๓๒) ๔๒๘-๕๒๒
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อกนฺตสิริภิกขุ
แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติ
เขากิ่วเป็นภูเขาเตี้ย ๆ มีต้นไม้หนาแน่นมาก อยู่ใกล้เมือง เดินทางสะดวก
บนเขามีลิงอยู่บ้าง แต่ไม่ทำร้ายคน บนสำนักฯ มีเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ศาลา ถ้ำชี ซึ่งใช้เป็นอุโบสถ กุฏิที่พัก ห้องน้ำ-ส้วม พอสะดวกสบายแก่การปฏิบัติ
ที่นี่เน้นการปฏิบัติเคร่งครัด กินน้อย นอนน้อย ปฏิบัติมาก

วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กรรม เข้าใจเหตุ และผลของการกระทำ

 ชีวิตนี้น้อยนัก click ฟังไฟล์เสียงที่รูป

ชีวิตนี้น้อยนัก หมายความว่าชีิวิตในปัจจุบันนี้น้อยนัก 
สั้น นักเมื่อเทียบกับชีิวิตในอดีตที่นับชาติไม่ถ้วน และ อนาคตที่จะนับชาติไม่ถ้วนเช่นกันสำหรับการเวียนว่ายตายเกิด สมเด็จพระสังฆราชได้ชี้ทางแก่เราว่าอันชีิวิตที่น้อยนักนี้เราจะทำอย่างไร ให้มีคุณค่าและประโยชน์มากที่สุด....เพราะชีวิตนี้แม้จะน้อยนักแต่ก็สำคัญ นัก เพราะสามารถหนีกรรมไม่ดี และสร้างชีวิตในอนาคตให้ดี เลิศเลอเพียงใดก็ได้



การเวียนว่ายตายเกิด click ฟังไฟล์เสียงที่รูป

นิพพานคือสิ่งที่อยู่เหนือความสุขใดๆ การเวียนว่ายตายเกิดเป็นสิ่งตรงกันข้าม
เราต้องแยกนิพพานในพุทธศาสนาและศาสนาอื่นให้ได้ เพราะนิพพานเป็นคำเก่า หลายศาสนาใช้คำว่านิพพานอยู่ก่อนแล้ว จนกระทั้งพระุพุทธเจ้าได้ทรงแสดงให้เราเห็นว่านิพพานคืออะไร แม้เราถูกสอนให้กลัวการเวียนว่ายตายเกิด แต่แท้จริงแล้วเราก็ยังอยากจะเวียนว่ายตายเกิด เพราะยังชอบ พอใจในกามคุณทั้งหลาย ยังยึดมั่นถือมั่น เมื่อเรายังต้องการสิ่งเหล่านี้อยู่เราก็ยังหลอกตัวเองอยู่ดี







นิทานชาดก


นิทานชาดก คือเรื่องในอดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
ที่พระองค์แสดงแก่พระภิกษุในโอกาสต่างๆเพื่อเป็นแบบแผนในการทำความดี


กลัณฑุกชาดก

ชาดกว่าด้วยมารยาทส่อสกุล click ที่รูป
Part 1/2

Part 2/2





คิชฌชาดก

ชาดกว่าด้วยอำนาจบุญคุณ click ที่รูป
Part 1/2

 Part 2/2





สสปัณฑิตชาดก

ชาดกว่าด้วยผู้สละชีวิตเป็นทาน click ที่รูป
 Part 1/2

 Part 2/2





มาลุตชาดก

ชาดกว่าด้วยการถือความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่ click ที่รูป
Part 1/2

Part 2/2





วิโรจนชาดก

ชาดกว่าด้วยความไม่เจียมตน click ที่รูป
Part 1/2

Part 2/2


































วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พุทธประวัติ


 พุทธประวัติ 01 ปัญจมหาวิโลกนะ click ที่รูป




   พุทธประวัติ 02 ปฏิสนธิในครรภ์มารดา  click ที่รูป

 

 

   พุทธประวัติ 03 ประสูติ ณ ลุมพินี click ที่รูป





 พุทธประวัติ 04 พราหมณ์ทำนายลักษณะ click ที่รูป

 

 

   พุทธประวัติ 05 นั่งเข้าปฐมฌาน  click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 06 อภิเษกสมรส click ที่รูป

 

 

พุทธประวัติ 07 เทวทูตทั้ง 4 click ที่รูป





พุทธประวัติ 08 เสด็จออกบรรพชา  click ที่รูป

 

 

   พุทธประวัติ 09 อาฬารดาบส-อุทกดาบส  click ที่รูป

 

 

    พุทธประวัติ 10 บำเพ็ญทุกรกิริยา  click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 11 นางสุชาดาถวายมธุปายาส  click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 12 มารผจญ click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 13 ตรัสรู้ click ที่รูป

 

 

   พุทธประวัติ 14 ธิดามารยั่วยวน click ที่รูป

 

 

   พุทธประวัติ 15 พญานาคมุจลินท์ click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 16 โปรดปัญจวัคคีย์ click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 17 โปรดพระยสะ click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 18 ภัททวัคคีย์ click ที่รูป


 

   พุทธประวัติ 19 อาทิตตปริยายสูตร click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 20 วัดแรกในพระพุทธศาสนา click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 21 อัครสาวกบรรพชา click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 22 หัวใจพระพุทธศาสนา click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 23 โปรดประยูรญาติ click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 24 บิณฑบาตคือพุทธวงศ์ click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 25 พาพระนันทะท่องสวรรค์ click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 26 พระอานนท์ขอพร 8 ประการ click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 27 พระเทวทัตทำสังฆเภท click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 28 พระเจ้าอชาตศัตรู click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 29 พุทธบิดานิพพาน click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 30 กำเนิดภิกษุณีสงฆ์ click ที่รูป

 

 

    พุทธประวัติ 31 ยมกปาฏิหาริย์ click ที่รูป

 

 

พุทธประวัติ 32 รอยพระพุทธบาท click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 33 เวรัญชพราหมณ์ click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 34 อหิงสกะ click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 35 โปรดพกาพรหม click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 36 มารดลใจพระอานนท์ click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 37 ปลงสังขาร click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 38 บิณฑบาตมื้อสุดท้าย click ที่รูป

 

 

   พุทธประวัติ 39 สังเวชนียสถาน click ที่รูป

 

 

  พุทธประวัติ 40 อัปมาเทน สัมปาเทถ click ที่รูป